04 April, 2024 : By Admin Web3
แบบไหนที่เรียกว่าใช้ซอฟต์แวร์ผิดลิขสิทธิ์ และใช้งานอย่างไรไม่เสี่ยงถูกตรวจจับ
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มีให้เห็นอย่างแพร่หลายในสังคมไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาสร้างความเสียให้กับบริษัทผู้พัฒนาปีละหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปี 2563 ไทยติดอันดับ 3 ของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ในช่วงกลางปี 2566 ที่ผ่านมา กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) เข้าจับกุมบริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายจำนวน 104 แห่ง โดยพบการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายกว่า 500 รายการ รวมมูลค่าสุทธิกว่า 100 ล้านบาท ส่งผลให้อาชญากรทางไซเบอร์ที่ยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง มุ่งโจมตีองค์กรที่มีช่องโหว่ภายในประเทศ
การละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่ที่สร้างความเสียหายมากที่สุดคือการละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ใช้องค์กร ซึ่งองค์กรเหล่านี้มักอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมวิศวกรรม การก่อสร้าง และการออกแบบ โดยนำซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายไปออกแบบอาคารและโครงการพื้นฐานสำคัญทั่วประเทศ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ Adobe, Autodesk, Microsoft ฯลฯ ดังนั้นการละเมิดลิขสิทธิ์องค์กรไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายให้แก่องค์กร แต่ยังเกี่ยวเนื่องกับความมั่นคงของประเทศด้วย ดังนั้นการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายนอกจากจะเป็นการให้เกียรติผู้พัฒนา และยังเป็นการป้องกันความปลอดภัยตนเอง องค์กรและประเทศชาติอีกด้วย
แบบไหนที่เรียกว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือสิ่งที่ได้รับความคุ้มครอง ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ("พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์") โดยจัดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ประเภทงานวรรณกรรม (Literary work)
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ คือ การใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้มาไม่ถูกต้อง เช่น การใช้คีย์ของซอฟต์แวร์ผิดประเภท (เช่นใช้สำหรับนักศึกษาแต่นำมาใช้ส่วนบุคคลหรือองค์กร) การดาวน์โหลดโปรแกรมที่ถูกดัดแปลงมาใช้งาน การซื้อซีดีปลอมที่ไม่มีลิขสิทธิ์ (License) การแบ่งสิทธิ์ เป็นต้น
ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ กำหนดว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน หรือให้ได้ผลอย่างหนึ่งอย่างใด ในกรณีที่บุคคลใด ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บุคคลนั้นจะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท และหากเป็นการกระทำเพื่อการค้า จะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ หากผู้ใดรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น แต่ยังนำไปขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ นำเข้าหรือสั่งเข้ามาในประเทศไทย เพื่อหากำไร ก็มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ โดยมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาทและหากเป็นการทำเพื่อการค้าผู้นั้นจะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกเหนือจากการแก้ไขบรรเทาความเสียหายในคดีอาญาแล้ว เจ้าของลิขสิทธิ์ยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง ในกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์ภายใต้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์หากศาลพบว่ามีการกระทำความผิดจริงอาจมีคำห้ามมิให้กระทำละเมิดอีกต่อไป และมีคำสั่งให้ชำระค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอันเนื่องจากการละเมิดดังกล่าว
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยทั่วไป มี 5 ลักษณะ ได้แก่
1.การละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ใช้ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยผู้ใช้องค์กร ได้แก่ การทำสำเนาซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต
2.การใช้งานจำนวนมากในเครือข่าย มีผู้ใช้งานในเครือข่ายส่วนกลางจำนวนมากเกินกำหนด
3.การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเตอร์เน็ต มีหลายช่องทาง ได้แก่
- เว็บไซต์ที่เปิดให้ดาวน์โหลดหรือแลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์ทางการค้าฟรี
- เว็บไซต์ที่เสนอการประมูลซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย, ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือซอฟต์แวร์ที่ไม่ตรงกับช่องทางจำหน่ายที่กำหนด
- เครือข่าย Peer-to-Peer ที่อนุญาตให้แลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์มีลิขสิทธิ์ระหว่างกัน โดยการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นการคุกคามทางการค้าที่สำคัญที่สุด
4.การติดตั้ง ซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์ผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์ติดตั้งซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายให้กับลูกค้าเพื่อจูงใจให้ซื้อ
5. การสำเนาซอฟต์แวร์อย่างผิดกฎหมายคือการทำสำเนาอย่างผิดกฎหมาย หรือจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์โดยเจตนา ซึ่งในบางผลิตภัณฑ์พบว่ามีบรรจุภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ป้องกันการปลอมแปลง คู่มือ สัญญาการใช้งานและบัตรลงทะเบียนเหมือนกับซอฟแวร์แท้
ทำอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
คำตอบนั้นก็แสนง่ายแต่ก็ทำยากเช่นกัน คือ ซื้อซอฟต์แวร์ของแท้ แต่ซอฟต์แวร์ปลอมที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดนั้นมีรูปลักษณ์และองค์ประกอบต่าง ๆ คล้ายคลึงกับของแท้มาก ดังนั้นเราจึงต้องระวังเป็นพิเศษ
คำแนะนำการใช้งานซอฟต์แวร์อย่างถูกลิขสิทธิ์
1.จะต้องศึกษาเงื่อนไขและขอบเขตการใช้งานอย่างถี่ถ้วน หรือ ปรึกษาตัวแทนจำหน่ายก่อนทำการสั่งซื้อ
จัดซื้อให้เพียงพอต่อความต้องการขององค์กรและถูกวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
- 1 License ใช้ได้ กี่ user / กี่ device หรือแบบ network ตามเงื่อนไขของ License
2. ทำการติดตั้งอย่างถูกวิธีและถอนการติดตั้งซอฟต์แวร์เวอร์ชันเก่าออกจนหมด
- ตรวจสอบว่าซอฟต์แวร์ที่อยู่ในเครื่องมีการติดตั้งซ้ำซ้อน เวอร์ชันเก่าที่ไม่อัพเดท หรือการติดตั้งที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่
- ติดตั้งตามคำแนะนำจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
3. ตรวจสอบและสำรวจซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์ขององค์กรอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดตั้งที่ไม่ถูกวิธี หรือ การใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชันที่ไม่อัพเดท ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการตรวจจับ
4. จัดซื้อซอฟต์แวร์จากตัวแทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือและสามารถให้คำแนะนำด้านการใช้ซอฟต์แวร์ได้ เพื่อเลี่ยงจากการซื้อซอฟต์แวร์ที่อาจผิดลิขสิทธิ์ หรือ การติดตั้งที่ผิดวิธี
*เกร็ดความรู้ คำศัพท์ที่มักใช้ในการซื้อขายซอฟต์แวร์
BSA (Software Alliance) หรือกลุ่มพันธมิตรซอฟต์แวร์ คือ องค์กรสนับสนุนการใช้ซอฟต์แวร์ สำหรับซอฟต์แวร์ในกลุ่มสมาชิก และรณรงค์การใช้ซอฟต์แวร์อย่างถูกกฏหมาย
License หมายถึง ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
User หมายถึง ผู้ใช้งาน
Admin หมายถึง ผู้ดูแลการจัดการ License
Device หมายถึง เครื่อง/ PC/Laptop
Subscription หมายถึง การเช่าใช้รายปี
Perpetual หมายถึง การซื้อใช้งานตลอดชีพ
Maintenance Service Agreement หรือ MA คือ การบริการดูแล, บำรุงรักษาระบบ, การอัพเดทเวอร์ชันใหม่อยู่เสมอ
โดยหากท่านไม่มั่นใจว่าจะซื้อซอฟต์แวร์ได้อย่างถูกลิขสิทธ์สามารถสั่งซื้อและปรึกษา IT Solution ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายซอฟต์แวร์ระดับโลกมากมาย มีความเชี่ยวชาญในการให้คำแนะนำและบริการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ คุณสามารถโทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02 725 6400
เลือกดูสินค้าซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ได้ที่นี่ >>> Adobe, Autodek, Microsoft, Other
สอบถามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติมได้ที่ 02-725-6400 , 084-424-2428
Tags : ซอฟต์แวร์ผิดลิขสิทธิ์, ละเมิดลิขสิทธิ์, ตรวจจับซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์, ถูกตรวจลิขสิทธิ์, ถูก Audit ลง, การใช้งานซอฟต์แวร์ที่ถูกต้อง, การซื้อซอฟต์แวร์แท้, ITSC, ITSolution