27 October, 2022 : By Admin Web3



เลือกอะไรดี ? ระหว่าง subscription license หรือ perpetual license

 

ในปัจจุบันธุรกิจซอฟต์แวร์ทั้งหลาย ต่างก็เปลี่ยนมาให้บริการกันในรูปแบบที่ เรียกว่า SaaS (Software as a Service) ผ่านระบบ Cloud เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการใช้งาน ตัวอย่างของ SaaS ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี อย่างเช่นอีเมล ที่เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้วเข้าไปใช้งานอีเมลได้เลยโดยไม่ต้องโหลดซอฟต์แวร์มาติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้งานด้านอื่นๆ เช่น Microsoft Office 365, Dropbox, Google Workspace, Zendesk ที่ล้วนแล้วแต่เป็นการให้บริการ ในรูปแบบ SaaS ที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน

 


 

 

อีกหนึ่งสิ่งที่มักมาคู่กับบริการแบบ SaaS นั่นก็คือ ระบบการสมัครสมาชิก (Subscription) ที่ผู้ให้บริการมักนำมาใช้เพื่อเก็บค่าบริการของซอฟต์แวร์ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของตัวลิขสิทธิ์ (License) หรือ ธุรกรรม (Transaction) ที่มีการเปลี่ยนจาก ใบอนุญาตแบบถาวร (Perpetual License) มาเป็น ใบอนุญาตแบบสมัครสมาชิก (Subscription License) ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเลยเกิดขึ้นกับซอฟต์แวร์สำหรับการออกแบบที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ อย่าง Adobe ที่ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา ได้มีการปล่อยแอปพลิเคชั่นที่ใช้ชื่อว่า Creative Cloud โดยมีการรวบรวมทุกๆ ซอฟต์แวร์ของ Adobe ไว้ในที่เดียวและใช้งานผ่านการสมัครสมาชิก ที่จะมีการแยกค่าบริการเป็นหลากหลายแพ็คเก็จ ตามแต่ความต้องการของผู้ใช้ทั้งแบบรายเดือนหรือรายปี หรือแบ่งตามจำนวน License ทั้งซอฟต์แวร์เดี่ยวหรือเหมาทุกซอฟต์แวร์(สำหรับความต้องการใช้ซอฟต์แวร์มากกว่า 2 ตัวขึ้นไป) ก็จะมีค่าบริการที่แตกต่างกันออกไปตามแพ็คเกจ ซึ่งก่อนหน้านี้ Adobe ให้บริการในรูปแบบของตัว Creative Suite (CS) ที่เป็นใบอนุญาตแบบถาวรก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น Creative Cloud ดังกล่าว

 


Perpetual License vs Subscription License

 

ความแตกต่างระหว่างใบอนุญาตแบบถาวร Perpetual License และใบอนุญาตแบบสมัครสมาชิก Subscription License สามารถแบ่งได้ดังนี้

 

 

จ่ายค่าบริการเพียงครั้งเดียว

หากมีเวอร์ชั่นใหม่ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อซอฟต์แวร์ใหม่อีกครั้ง และบางทีหากซอฟต์แวร์ที่ใช้มีเวอร์ชั่นที่เก่าเกินไป อาจจะเจอปัญหา เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้เก่าจนใช้งานกับซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ไม่ได้ หรือเจอ Bugs ต่างๆ ที่ไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่ได้รับการดูแลหรืออยู่นอกระยะเวลาการดูแลเมื่อเวลาผ่านไป มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ตายตัว คือ การซื้อขาด หากวางแผนการใช้งานไม่ดี อาจจะซื้อมากหรือน้อยเกินความจำเป็นต่อความต้องการได้ ผู้ใช้งานสามารถแก้ไข Source Code เพื่อดัดแปลงซอฟต์แวร์ให้ตรงกับความต้องการได้

 

ใบอนุญาตแบบสมัครสมาชิก

จ่ายค่าบริการเป็นรายเดือน/ปี สามารถอัปเดตเวอร์ชั่นล่าสุดของซอฟต์แวร์ได้ตลอดระยะเวลาการเป็นสมาชิก เพื่อได้รับฟีเจอร์ใหม่ๆ รวมถึงได้รับการดูแล ช่วยเหลือ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น เพราะเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด Bugs ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว สามารถเลือกแพ็คเก็จที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานได้ รวมถึงการทดลองใช้ (Trial) ซึ่งหากไม่พอใจก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าบริการ ต้องใช้งานในรูปแบบที่ผู้พัฒนากำหนดมาให้ ซึ่งอาจทำให้ต้องเรียนรู้การใช้งานซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง ไม่เหมาะกับคนที่รักการทำงานในรูปแบบเดิมๆ

 

สรุป

รูปแบบของใบอนุญาตแบบสมัครสมาชิก กําลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ธุรกิจซอฟต์แวร์ต่างๆ การกำหนดรูปแบบเช่นนี้เป็นประโยชน์สําหรับทั้งผู้ใช้งานและบริษัทเจ้าของซอฟต์แวร์ เพราะจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์ได้มากยิ่งขึ้น สำหรับคนที่ปกติไม่มีกำลังซื้อซอฟต์แวร์แบบถาวรมาใช้งาน เนื่องจากมีราคาที่สูงจนเกินไป และบริษัทก็ได้ประโยชน์จากการที่มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้นต่อไป แต่ก็มีบางแง่มุมของใบอนุญาตแบบถาวรที่ก็อาจจะตอบโจทย์สำหรับผู้ใช้งานบางคนด้วยเช่นกัน ก่อนซื้อซอฟต์แวร์จึงควรศึกษาหาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจ

 


 









มองหาซอฟต์แวร์ตระกูล Adobe, Autodesk, Microsoft รวมถึงฮาร์ดแวร์จากผู้ผลิตคุณภาพ และครอบคลุมทุกความต้องการใช้งาน >>>  ได้ที่นี่

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางนี้ โทร.02-725-6400 , 084-424-2428 / อีเมล sales@itsolution.co.th หรือ websupport1@itsolution.co.th

 

Tags : Adobe, Platinum Reseller, ตรวจจับลิขสิทธิ์ Adobe, Adobe แท้, Adobe ลิขสิทธิ์, Adobe ตรวจจับไลเซนต์, การใช้งานซอฟต์แวร์ Adobe, เงื่อนไข Adobe, Adobe Privacy, Adobe Licenses, ซอฟต์แวร์ Adobe ลิขสิทธิ์, ถูกจับลิขสิทธิ์ Adobe, ITSC, ITSolution, Creative Suite, Adobe Individual, Adobe Business, Adobe Enterprise, Acer, Asus, Dell, HP, Lenovo, คอมพิวเตอร์, โน๊ตบุ๊ค