16 September, 2022 : By Admin Web3



Adobe ใช้งานอย่างไรให้ถูกต้อง และข้อป้องกันการละเมิดที่ควรรู้

หนึ่งในโปรแกรมยอดนิยมสำหรับการทำงานด้านการสร้างสรรค์อย่างซอฟต์แวร์ Adobe ที่มีการเปลี่ยนการให้บริการจากรูปแบบซื้อขาดเป็นรูปแบบเช่า (รายเดือน/ปี) ซึ่งหลายคนอาจจะเกิดคำถามเกี่ยวกับเรื่องการใช้ ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์และข้อจำกัดการใช้งานที่กำหนดไว้

 

โดยปกติแล้ว Adobe (CC: Creative Cloud) 1 License สามารถที่จะติดตั้งซอฟต์แวร์ลงบนคอมพิวเตอร์ได้กี่เครื่อง

 

ตามข้อตกลงการใช้งานซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ (Software License Agreement ) ของ Adobe สามารถสรุปได้ว่า สำหรับการใช้งานแบบบุคคลทั่วไป (Individuals) นั้นอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเปิดสิทธิ์ใช้งานซอฟต์แวร์ลงบนคอมพิวเตอร์ได้มากที่สุด 2 เครื่อง แต่จะไม่สามารถใช้งานในเวลาเดียวกันได้ หมายความว่า หากเราใช้งานบนคอมพิวเตอร์เครื่องหลักที่บ้าน แล้วต้องการใช้งานบนแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊คก็สามารถทำได้ โดยการลงชื่อเข้าใช้แบบเดียวกับบนคอมพิวเตอร์เครื่องหลัก แต่จะไม่สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ทั้งสองเครื่องในเวลาเดียวกันได้

 

อย่างไรก็ตาม เราสามารถโยกย้ายการลงชื่อเข้าใช้ไปยังคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง Adobe CC กี่เครื่องก็ได้ ไม่จำกัดการโยกย้าย เพียงแต่เราจะสามารถลงชื่อเข้าใช้บนคอมพิวเตอร์ได้มากที่สุดเพียง 2 เครื่องเท่านั้น หากมีการลงชื่อเข้าใช้ในคอมพิวเตอร์เครื่องที่สาม จะมีหน้าต่างแจ้งเตือนขึ้นมาว่า เรามีการเปิดใช้งานเกินจำนวนแล้ว ให้เราเลือกว่า จะทำการ ลงชื่อออก (Sign Out) จากคอมพิวเตอร์ใดคอมพิวเตอร์หนึ่งจากทั้งสองเครื่องก่อนหน้าหรือไม่

 

 

 

ซึ่งหากเราต้องการจะลงชื่อเข้าใช้ในคอมพิวเตอร์ที่สามก็สามารถเลือกที่จะลงชื่อออกจากคอมพิวเตอร์ที่เราเคยลงชื่อเข้าใช้ก่อนหน้า เมื่อเราทำการเลือกใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ และลงชื่อออกจากอุปกรณ์ก่อนหน้าแล้ว สามารถกด Continue เพื่อใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ล่าสุดได้เลย

 

ซึ่งระบบลงชื่อเข้าใช้นี้เป็นประโยชน์และอำนวยสะดวกสำหรับคนที่มีการย้ายการทำงานไปบนคอมพิวเตอร์ที่หลากหลาย ทำให้ไม่จำเป็นต้องมองหาคอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้งซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ให้ยุ่งยากและไม่ต้องมากังวลเรื่องการย้ายข้อมูลต่างๆ อีกต่อไป เป็นข้อดีหากเทียบกับระบบ Serial Number ในสมัยก่อนที่จำกัดการใช้งานอยู่บนคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว

 

ข้อควรระวังการละเมิดที่อาจจะเกิดขึ้น

มีความสุ่มเสี่ยงบางอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นจะทั้งความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม อย่างที่ข้อกำหนดบอกไว้ว่า 1 ลิขสิทธิ์ (License) จะสามารถเปิดสิทธิ์ใช้งานได้สูงสุด 2 เครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่หากว่าผู้ใช้มีการมอบสิทธิ์ให้กับบุคคลอื่น อาจจะเป็น เพื่อน คนในครอบครัว หรือคนรู้จัก ในการสวมสิทธิ์ใช้งานในอีกเครื่องที่เหลือ ก็ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน เพราะตามข้อตกลงแล้ว ผู้ใช้ต้องเป็นตัวผู้ซื้อหรือเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นแต่เพียงผู้เดียว (Individuals) จึงไม่สามารถให้ผู้อื่นมาใช้ร่วมได้ ซึ่งในประเด็นนี้ก็มีการระบุไว้ในข้อตกลงการใช้งานแล้วเช่นกัน ซึ่งทางที่ดีผู้ใช้ควรใช้งานตามข้อตกลง เพราะหากถูกตรวจพบการละเมิดขึ้นมาคงไม่เป็นผลดีแน่ๆ

Product Licenses and Terms of Use : https://www.adobe.com/legal/licenses-terms.html?mv=affiliate&mv2=red

 

อีกข้อหนึ่งของความสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ พบจากการใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นเก่า อาทิ Photoshop, Premiere Pro หรือ Acrobat รวมถึงซอฟต์แวร์อื่นๆ ใน Adobe Creative Cloud ที่ไม่ได้รับการอัพเดท โดยทาง Adobe ได้ออกมาเตือนผู้ใช้ถึงประเด็นนี้ รวมถึงบางคนอาจจะได้รับอีเมลแจ้งเตือนจากทาง Adobe ว่าหากพวกเขายังใช้งานซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นเก่าต่อไป จะมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องในข้อหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (ลิขสิทธิ์) จากบุคคลอื่น (3rd-party) ซึ่งประเด็นนี้อาจมีผลกระทบต่อผู้ที่ใช้งานฮาร์ดแวร์ที่ไม่รองรับซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นใหม่ๆ เป็นปัญหาที่ต้องรอการแก้ไขต่อไป

 


ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สำหรับนิติบุคคล

การใช้งานในรูปแบบนิติบุคคล มีด้วยกันหลายกรณี อาทิ สำหรับสถาบันการศึกษา สำหรับสำนักงาน องค์กรธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง หรือ Virtual Machines และ Servers ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 1 คนขึ้นไป และมีความต้องการใช้ซอฟต์แวร์หลายๆ เครื่องพร้อมกัน แนะนำว่าควรใช้ลิขสิทธิ์แบบ Creative Cloud for teams ซึ่งในประเทศไทยการจะใช้ลิขสิทธิ์ลักษณะนี้ ต้องมีการซื้อผ่านตัวแทนที่ได้รับอนุญาตในการจัดจำหน่ายที่เป็นบริษัท IT Support เท่านั้น เช่น บริษัท I.T. Solution Computer (Thailand) ที่เป็นตัวแทนจำหน่าย Adobe ในระดับ Platinum เจ้าเดียวในประเทศไทย และข้อดีของการติดต่อซื้อผ่านตัวแทน คือ ได้รับคำปรึกษาในการใช้งานจากมืออาชีพ ไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาต่างๆ ที่มักจะเกิดขึ้น ทั้งปัญหาการติดตั้งซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ (ติดตั้งไม่ได้ / ติด Proxy / ขึ้นการ Error ต่างๆ) หรือ Sign in แล้ว Activate ไม่สำเร็จ หรือจัดการ Licenses ไม่เป็น / Assign User ไม่ได้ เป็นต้น

 


 

สรุป

ปัจจุบันการใช้งานซอฟต์แวร์ในตระกูล Adobe มีความสะดวกสบายมากขึ้น จากการปรับเปลี่ยนการให้บริการเป็นการเช่าแทนการซื้อขาด ซึ่งก็มีข้อดีและอาจจะมีปัญหาสำหรับผู้ที่ใช้ฮาร์ดแวร์รุ่นเก่าที่ไม่รองรับ แต่หากว่ามีความเข้าใจในการใช้งานที่ถูกลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง ก็ไม่มีความกังวลว่าจะต้องถูกฟ้องร้อง ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมามีผู้ถูกฟ้องร้องในกรณีจากทั้งใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน หรือใช้ไม่ถูกวิธี เช่น ซื้อแบบบุคคล แต่นำไปใช้แบบองค์กร ก็ถูกดำเนินคดีกันไปหลายรายแล้ว โดยเฉพาะแบบนิติบุคคลที่การเปิดใช้งานอาจจะมีความวุ่นวาย ยุ่งยาก การปรึกษาบริษัท IT Support ก็เป็นอีกทางออกที่ดี เพื่อประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย รวมถึงความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ ด้วย

 


 









สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-725-6400 , 084-424-2428

 

Tags : Adobe, Platinum Reseller, ตรวจจับลิขสิทธิ์ Adobe, Adobe แท้, Adobe ลิขสิทธิ์, Adobe ตรวจจับไลเซนต์, การใช้งานซอฟต์แวร์ Adobe, เงื่อนไข Adobe, Adobe Privacy, Adobe Licenses, ซอฟต์แวร์ Adobe ลิขสิทธิ์, ถูกจับลิขสิทธิ์ Adobe, ITSC, ITSolution, Creative Suite, Adobe Individual, Adobe Business, Adobe Enterprise