1 September, 2022 : By Admin Web3



ซอฟต์แวร์ลิขสิทธ์แท้ มาตรฐานการทำงานในโลกยุคปัจจุบัน

 

เชื่อว่าในยุคปัจจุบัน คงไม่มีใครที่ที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แล้วจะไม่รู้จัก คำว่า ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นสิ่งที่พื้นฐานมากสำหรับการทำงานบนคอมพิวเตอร์ ทำให้มีซอฟต์แวร์ถูกพัฒนาออกมาเพื่อตอบโจทย์การทำงานแทบทุกด้าน ในส่วนของการทำงานออกแบบก็มีซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยมอย่าง AutoCAD, SketchUp, Solidworks, หรือโปรแกรมตระกูล Adobe เป็นต้น แน่นอนว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมานั้นใช้เวลาและเงินลงทุนมหาศาล ทำให้ไม่อาจปฏิเสธว่า นี่เป็น “ของซื้อของขาย” ไม่ใช่สิ่งที่จะแจกจ่ายให้ใช้กันฟรีๆ (หากว่าไม่ใช่ซอฟต์แวร์แจกฟรี) และถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีกฏหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง

 

 

การตรวจจับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

BSA (Business Software Alliance) คือ บริษัทที่ทำการตรวจสอบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นหน่วยงานที่ดูแลอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์และคู่ค้าฮาร์ดแวร์ทั่วไป ซึ่งมีสมาชิกเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เช่น Microsoft, Adobe, Autodesk, Intel เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นองค์กรที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

การรับมือกรณีถูกตรวจสอบจาก BSA

หากวันดีคืนดีได้รับจดหมายขอตรวจสอบจาก BSA ก่อนอื่นให้ทำการพิจารณาว่าเป็นจดหมายของจริงหรือไม่ เพราะบางทีนี่อาจเป็นช่องทางสำหรับมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาเพื่อล้วงข้อมูลสำคัญของบริษัท หากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นจดหมายจริง ให้ทำการหาเอกสารหลักฐานการสั่งซื้อ เช่น Invoice Certificate SN จากนั้นทำการค้นหาและตรวจสอบว่ามีติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ โดยการนำคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในบริษัทมาตรวจสอบ

 

 


 

กรณีตัวอย่างที่มักพบการละเมิดการใช้งาน

  1. การแจกจ่ายระหว่างผู้ใช้งาน โดยการคัดลอกซอฟต์แวร์ต้นฉบับของแท้ไปลงเครื่องอื่นที่ไม่ใช่เครื่องที่ใส่ Serial Number เครื่องแรก
  2. การใช้ระบบ Thin Client ลงซอฟต์แวร์เพียง 1 License ที่เครื่องหลัก (Host PC) แต่ติดตั้งเครื่องที่เชื่อมต่อด้วยให้สามารถใช้งานได้หลายๆ คน
  3. การใช้งานข้ามภูมิภาค โดยปกติการซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์จากประเทศผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น ในอเมริการาคาซอฟต์แวร์จะถูกกว่าที่อื่น แต่ก็มีเงื่อนไขระบุไว้ว่าต้องใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในประเทศนั้นเท่านั้น ในกรณีที่ซื้อจากต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทยจะสามารถใช้ลิขสิทธิ์แบบ Global License ซึ่งราคาจะแพงกว่า (ประมาณ 2 เท่า)
  4. การละเมิดลิขสิทธิ์ทางออนไลน์ โดยปล่อยให้ดาวน์โหลด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
  5. การที่ผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์ทำการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้เพื่อเป็นการสมนาคุณให้ลูกค้า ผู้จำหน่ายควรขอใบอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (License) เสียก่อน เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์
 

การป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์

เพื่อไม่ให้การละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้น การติดตั้งซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์แท้จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับบุคคลหรือองค์กร แต่หลายครั้งก็อาจประสบกับปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาการติดตั้งโปรแกรมลิขสิทธิ์ (ติดตั้งไม่ได้ / ติด Proxy / ขึ้นการ Error ต่างๆ), ใส่ Serial Number แล้ว Activate ไม่สำเร็จ, จัดการ Licenses ไม่เป็น / Assign User ไม่ได้, ปัญหาเหล่านี้ ต้องได้รับการแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นบริษัท IT Support อาทิ บริษัท I.T. Solution Computer (Thailand) ที่ดำเนินการด้านโซลูชั่น รับให้คำปรึกษา ดูแลระบบ ออกแบบและติดตั้งระบบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ บริการฝึกอบรมทางด้านคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มายาวนานกว่า 20 ปี ย่อมให้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ากว่าการแก้ไขปัญหาโดยไร้ผู้ช่วยอย่างแน่นอน

โทษของการละเมิดลิขสิทธิ์

ตามบทลงโทษทางกฏหมายระบุว่า...ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ สิ่งที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 (พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์) โดยจัดเป็นงานมีลิขสิทธิ์ประเภทงานวรรณกรรม (Literary work) ในกรณีที่บุคคลใด ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือ ให้เช่าต้นฉบับ หรือ สำเนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บุคคลนั้นจะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท - 200,000 บาท และหากทำเพื่อการค้า หรือ นำออกจำหน่าย ต้องโทษจำคุก 6 เดือน – 4 ปี หรือ ปรับตั้งแต่ 1-8 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

ตัวอย่างการชนะคดีละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ในปี พ.ศ. 2548 "BSA" เผยศาลแพ่งไทยให้ออโตเดสค์ชนะคดีละเมิดลิขสิทธิ์ โรงงานผลิตพลาสติกขนาดใหญ่ที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องจ่ายค่าเสียหาย 1.8 ล้านบาท คดีนี้เป็นคดีที่ 2 ของปี 2548 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางของไทยตัดสินให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับชัยชนะในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ออโต้เดสค์ได้รับชัยชนะในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นครั้งแรก และได้รับค่าเสียหายมูลค่า 3.5 ล้านบาท

 

อ่านข่าว https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9520000094745
 

จำเป็นต้องซื้อซอฟต์แวร์ของแท้ (มีลิขสิทธิ์) หรือไม่

แน่นอนว่าการซื้อซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์จากผู้พัฒนา(หรือผู้จัดจำหน่าย) ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะนอกจากถูกกฏหมายและไม่ต้องมานั่งกังวลใจแล้ว ยังมีบริการหลังการขายในกรณีเกิดปัญหาขึ้น มีข้อมูลหลังการขายและขอใบกำกับภาษีได้ อีกทั้งยังสามารถอัพเกรดเวอร์ชั่นใหม่ๆ ของโปรแกรมได้รวมถึงฟังก์ชั่นการทำงานแบบ 100% ปลอดภัยต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และไม่มีมัลแวร์หรือไวรัส ที่แฝงมากับตัว Crack เวลาใช้ของเถื่อน เพื่อหวังจะขโมยข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

 


 


งบประมาณน้อยทำอย่างไร

หลายซอฟต์แวร์มีราคาที่อยู่ในหลักหมื่นจนถึงหลักแสน (กรณีใช้แบบองค์กร) ซึ่งทางผู้พัฒนาก็พยายามจัดโปรโมชั่นต่างๆ ลดราคาอยู่ตลอดเวลา หรือบางซอฟต์แวร์ก็มีเวอร์ชั่นนักศึกษา/เวอร์ชั่นเริ่มต้น ออกมาในราคาที่ถูกลงแต่ยังคงฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบถ้วนอีกด้วย สำหรับบริษัทเล็กๆ ที่ไม่มีกำลังพอจะซื้อซอฟต์แวร์ใช้งานภายในบริษัท ผู้พัฒนาหลายๆ เจ้าได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจำหน่ายเป็นแบบ Subscriptions ผลที่ได้ คือ ราคาถูกลงกว่าเดิมมาก มีการอัพเดตฟรีตลอด สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า หรือ อาจจะมองไปที่ซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ทดแทนกันได้ใกล้เคียงแต่มีราคาที่ถูกลงก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน

 

ทาง Adobe ได้แบ่งความร่วมมือของตัวแทนจำหน่ายกับบริษัทออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับ Registered ระดับ Certified ระดับ Gold และ ระดับ Platinum ซึ่งเป็นระดับสูงสุด และ I.T. Solution Computer (Thailand) คือ บริษัทที่ได้เป็นพาร์ทเนอร์กับ Adobe ในระดับ Platinum เจ้าแรก และเจ้าเดียวในประเทศไทย นั่นทำให้มั่นใจได้ว่า ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Adobe แล้ว I.T. Solution Computer (Thailand) เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ และพร้อมให้คำแนะนำ รวมถึงคำปรึกษาในปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

 

การใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์แท้ เป็นเรื่องที่สมควรจะทำเป็นพื้นฐานของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เพราะซอฟต์แวร์เหล่านั้นก็เป็นเหมือนสินค้ารูปแบบหนึ่งที่มีผู้ผลิต ที่ต้องลงทุนลงแรงผลิตออกมา ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นมาเองเฉยๆ ผู้ใช้ก็ควรจะต้องใช้งานสิ่งเหล่านี้อย่างถูกต้อง นอกจากจะเป็นการช่วยผู้พัฒนาแล้วยังไม่ต้องกังวลเรื่องกฏหมาย หรือความไม่ปลอดภัย ที่จะเกิดขึ้นกับการใช้ของเถื่อนอีกด้วย

 


 









สอบถามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติมได้ที่ 02-725-6400 , 084-424-2428

 

Tags : Adobe, Creative Cloud, Licenses, ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์, ตรวจสอบลิขสิทธิ์, ตรวจจับ Adobe, ตรวจจับ Autodes, ตรวจจับ Microsoft, ตรวจจับ SketchUp, ลิขสิทธิ์แท้, ซอฟต์แวร์ของแท้, ซอฟต์แวร์ของปลอม, ซอฟต์แวร์เถื่อน,