14 June, 2022 : By Admin Web3
Easier collaboration and no wasted time (ทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้นและไม่เสียเวลา)
วิธีที่ Raami Architects สร้างโรงพยาบาลใหม่ด้วย BIM Collaborate Pro
โรงพยาบาลศูนย์วาซา
โรงพยาบาลศูนย์ในเมืองวาซา (Vaasa) ซึ่งเป็นเมืองทางชายฝั่งตะวันตกของฟินแลนด์กำลังมีอาคารหลักหลักใหม่ เรียกชื่อสั้นๆว่าตึก H (H Building) ซึ่งถือเป็นตึกหลักที่สำคัญของโรงพยาบาลศูนย์แห่งนี้เสมือนทางเข้าหลักของบ้าน ตึก H นี้เป็นตึกสิบชั้นซึ่งจะมีพื้นที่ประมาณ 37000 ตารางเมตร ภายในตึกจะมีคลินิกและหอผู้ป่วยสำหรับการดูแลสุขภาพเบื้องต้น การพยาบาลเฉพาะทาง และการดูแลด้านสาธารณสุข ตึก H นี้จะเป็นศูนย์การแพทย์ที่มีความทันสมัยและคุณภาพสูง รองรับเรื่องคุณภาพการดูแลที่ดีที่สุดในฟินแลนด์ในอนาคต
โครงการอาคาร H แห่งนี้ถือว่าเป็นโครงการก่อสร้างที่ส่วนใหญ่ต้องเริ่มต้นก่อสร้างใหม่หมด ตัวอาคารตั้งอยู่ใจกลางของตัวโรงพยาบาลซึ่งว่าเป็นการก่อสร้างที่ท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าการดำเนินการก่อสร้างจะต้องเป็นไปอย่างที่ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อบริการทางการแพทย์ในส่วนของตึกอื่นๆ
การประมูลงานก่อสร้างตึก H นี้ดำเนินในปี 2017 การก่อสร้างเริ่มดำเนินการในปี 2018 และจะเสร็จภายในปี 2022
บริษัท Raami Architects ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบโรงพยาบาลในฟินแลนด์ได้รับให้เป็นผู้ออกแบบโครงการ บริษัท Raami Architects เริ่มธุรกิจในปี 2000 ด้วยบุคลากร 3 คน จนกระทั่งเติบโตมากกว่า 30 คนในปัจจุบัน และนอกเหนือจากบริษัทจะเชี่ยวชาญด้านการออกแบบโครงการด้านการดูแลสุขภาพแล้ว บริษัทยังสามารถออกแบบโครงการศูนย์รับเลี้ยงเด็ก (Daycare Center) อาคารสำนักงาน ตึกอุตสาหกรรม รวมถึงบ้านที่อยู่อาศัยและผังเมือง บริษัท Raami Architects ได้ชื่อว่ามีความสามารถในการออกแบบโดยคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลักรวมทั้งยังเปิดรับนวัตกรรมการออกแบบและวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่ๆอีกด้วย
สัญญาแบบการร่วมทุน (Alliance contracting)
โครงการออกแบบของโรงพยาบาลศูนย์วาซาดำเนินการประมูลออกแบบก่อสร้างในรูปการร่วมทุน ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมสำหรับโปรเจคใหญ่ในฟินแลนด์ รูปแบบของการร่วมทุนจะเป็นลักษณะที่ผู้ร่วมทุนหลัก (เจ้าของโครงการและผู้รับเหมาหลักๆ) ตั้งนิติบุคคลของแต่ละฝ่ายขึ้นมาเพื่อแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมในโครงการ รวมถึงความเสี่ยงและรางวัลที่จะได้รับด้วย ผู้ร่วมทุนแต่ละเจ้าต้องมีการแชร์ข้อมูลข่าวสารสำหรับโครงการอย่างเปิดเผย รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโครงการและข้อมูลการเงินอื่นๆ โดยปกติการร่วมทุนในลักษณะนี้ผู้ร่วมทุนจะตกลงการร่วมทุนแต่แรกๆในช่วงต้นของโครงการ (แทนที่จะเป็นการร่วมทุนแบบเฉพาะกิจในงานบางงานที่ต้องร่วมทุน) ความคิดของการร่วมทุนในลักษณะนี้ เพื่อให้เจ้าของโครงการและผู้รับเหมาแต่ละฝ่าย ได้เข้าใจตรงกัน และทำงานสอดผสานกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี
สำหรับโครงการนี้ บริษัท Raami Architects ได้ร่วมทุนกับอีก 5 บริษัทได้แก่ 1. บริษัท Kontukoski Architects 2. บริษัท Granlund ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้าน MEP (Mechanical, Electrical and Plumbing Engineering) 3. บริษัท Ramboll ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านโครงสร้าง (Structural Engineering) และด้าน BIM Specialist (Building Information โมเดลling) 4. YIT บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง (Building Contractor) และ 5. โรงพยาบาลศูนย์เอง ในการร่วมทุนครั้งนี้ทั้ง 5 บริษัทได้มีการติดต่อเจรจากันก่อนที่จะมีการประมูลและทำงานเอกสารเพื่อทำประมูลร่วมกัน (โดยที่ทางโรงพยาบาลศูนย์จะเข้าร่วม หลังจะได้บริษัทที่ชนะการประมูล) บริษัททั้ง 5 ที่เข้าร่วมกันนี้ได้เรียกตัวเองเป็นกลุ่ม Bothnia High 5 Alliance และโครงการนี้ก็เป็นโครงการร่วมทุนแรกในเขต Ostrobothnai ของฟินแลนด์ ผู้ร่วมทุนมีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการออกแบบและก่อสร้างตึกใหม่ของโรงพยาบาล
การประสานงานก่อนที่จะใช้ BIM Collaborate Pro (Collaborating before BIM Collaborate Pro)
ลักษณะการทำงานของบริษัท Raami Architects จะคล้ายคลึงกับบริษัทสถาปนิกทั่วๆไป ที่จะต้องแชร์งานให้กับบริษัทอื่นๆที่เป็นเพื่อนร่วมโครงการเดียวกัน หรือแม้แต่ผู้ร่วมงานในสำนักงานเดียวกัน และก่อนที่บริษัท Raami Architects จะมาใช้โปรแกรม BIM Collaborate Pro พวกเขาได้ใช้เครื่องมือหลายๆอย่างในการประสานงานกัน
สำหรับการทำงานภายในสำนักงาน บริษัทฯ ได้เก็บ BIM โมเดล ต่างๆของโครงการไว้ที่ server ของบริษัทฯ ซึ่งทีมงานสามารถที่จะเข้าถึงการใช้งาน BIM โมเดล เหล่านี้ได้ตลาดเวลา
บ่อยครั้งที่บริษัท Raami Architects จะทำงานร่วมกับบริษัทสถาปนิกอื่นๆด้วย และสำหรับโครงการของโรงพยาบาลศูนย์ วาซา แห่งนี้ทาง Raami Architects ได้ร่วมงานกับบริษัท Kontukoski Architects และเนื่องจากที่เป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน ทาง Raami Architects จึงอนุญาตให้ทาง Kontukoski สามารถเข้าถึง server ของ Raami Architects ได้โดยผ่าน VPN (Virtual Private Network)
สำหรับผู้ร่วมงานอื่นๆ รวมถึงเจ้าของโครงการ ทาง Raami Architects ได้ประสานงานโดยการ export เพื่อส่งFile BIM โมเดล ในรูป IFC Format และในรูป PDF และ DWF Format สำหรับ Drawing ที่เป็นแบบ 2 มิติ (2D Drawing)
ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับการทำงานภายในสำนักงานหรือผู้ร่วมงานที่ต้องใช้ Server ของบริษัทฯนั้น มักจะเกิดจาก ความล่าช้าของ Server และการเชื่อมต่อของ VPN ทำให้ไม่สามารถเข้าถึง Server ได้ชั่วคราวและบางครั้งก็เกิด data corruption
ส่วนปัญหาเรื่องประสานงานกับผู้ร่วมงานที่ต้องส่ง exported files ให้นั้น เป็นเรื่องของการส่งไฟล์ที่คลาดเคลื่อนกัน ไม่ตรงกับที่คุยกัน และบางครั้งผู้ร่วมงานต้องแชร์ file drawing 2D ได้อย่างเดียวโดยไม่สามารถแชร์ โมเดล 3D ได้ ในขณะที่นักออกแบบท่านอื่นๆจำเป็นต้องใช้ โมเดล 3D ในการทำงาน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะแชร์ โมเดล 3D เป็นแบบ real time และในการใช้ drawing 2D ก็เป็นที่ยากมากในเรื่องของมุมมอง
จากปัญหาข้างต้นที่กล่าวมา บริษัทจึงรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่จะได้ลองใช้ BIM Collaborate Pro เมื่อโปรแกรมออกมาใหม่ พวกเขาเริ่มต้นทำการทดสอบเล็กและมีความมั่นใจมากขึ้น เมื่อโปรแกรมสามารถทำในสิ่งที่ต้องการได้ จากนั้นจึงเริ่มใช้โปรแกรมจริงจัง บริษัท Raami Architects ได้นำโปรแกรม BIM Collaborate Pro มาใช้กับโครงการโรงพยาบาลศูนย์วาซาเป็นแห่งแรก คุณ Teija Peltoharju, BIM Manager ของ Raami Architects กล่าวว่า “มันเป็นเรื่องง่ายมากสำหรับเราในการใช้โปรแกรม BIM Collaborate Pro เนื่องจากว่าทางเราได้ใช้โปรแกรม Revit อยู่ในขณะนี้. มันใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงสำหรับในการเปลี่ยนแปลงเพียงเราแค่สร้างหรือนำ โมเดล ขึ้นมาอยู่บน Cloud Server จากนั้นก็สามารถเริ่มใช้ได้ตามปกติ
No more data corruption (BIM Collaborate Pro ทำให้ไม่เกิดดาต้า คอรัปชั่นอีกต่อไป)
คุณ Peltoharju ยังกล่าวต่อไปว่า “ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงสำหรับเรามากที่สุดได้แก่เรื่องความเสถียรของ โมเดล มากขึ้น เราเคยเจอปัญหาเรื่องเรื่องดาต้า คอรัปชั่นมาแล้วและเราต้องเสียเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงที่จะแก้ไข โมเดล ให้เหมือนเดิม จากการใช้โปรแกรม BIM Collaborate Pro เราหมดปัญหาเรื่อง โมเดล corruption และยังช่วยให้เวลาในการ Synchronize โมเดล สั้นลง
Raami Architects ได้ลองคำนวณเวลาที่ใช้ในการ update โมเดล หลังจากใช้โปรแกรม BIM Collaborate Pro เปรียบเทียบกับการวาง โมเดล บน server แล้วให้ผู้ร่วมงานใช้งานผ่าน VPN
คุณ Peltoharju ยังได้กล่าวอีกว่า “ ทางเราได้ลองคำนวณในดูเรื่องการ Synchronize โมเดล ได้เร็วขึ้นพร้อมกับไม่มีเรื่องดาต้า คอรัปชั่นทำให้เราสามารถประหยัดเวลาในการทำงานได้ 5 วันต่อเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้คุ้มค่ามากกว่าราคาของโปรแกรม BIM Collaborate Pro หลายเท่า
Solving the puzzle together with BIM Collaborate Pro (แก้ปัญหาพร้อมกันด้วย BIM Collaborate Pro)
การเปลี่ยนแปลงเรื่องที่สองที่ได้จากการนำ BIM Collaborate Pro มาใช้ ได้แก่ความง่ายในการทำงานร่วมกัน ซึ่งผู้ค้าร่วมทุกเจ้าของ Bothnia High 5 Alliance ตกลงกันที่จะนำโปรแกรม BIM Collaborate Pro มาใช้ร่วมกันในโครงการ คุณ Max Levander ซึ่งเป็น BIM Coordinator ของกลุ่มได้ให้ความเห็นว่า “สิ่งสำคัญอันหนึ่งที่กลุ่มพิจารณาคือจะต้องให้คนที่ไม่ใช้โปรแกรม BIM ในการออกแบบ สามารถที่จะเข้าถึง โมเดล ได้ เช่น ผู้ดูแลโครงการของโรงพยาบาล เป็นต้น และสำหรับข้อมูลในโครงการแล้ว ทุกคนจำเป็นจะต้องได้รับการเข้าถึงข้อมูลที่เหมือนกัน ดังนั้น โมเดล ในโครงการจะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแหล่งเดียว (single source of truth) ซึ่งเป็นเรื่องนี้เป็นสำคัญในการพูดคุยและในการตัดสินใจเลือกเครื่องมือ เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงข้อมูล”
คุณ Kaisa Harkonen ซึ่งเป็นสถาปนิกโครงการของ Raami Architects ได้กล่าวว่า “ การใช้โปรแกรม BIM Collaborate Pro ช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้นในเรื่องการประสานงานกัน และช่วยให้ทุกคนสามารถเห็นภาพการออกแบบได้ชัดเจน สามารถลดข้อผิดพลาดได้” ซึ่งขณะนี้ Harkonen และผู้ร่วมงานของเธอสามารถทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญอื่นๆได้เสมือนเป็นทีมเดียวกัน แม้นว่าแต่ละทีมจะอยู่สถานที่ต่างกันและต่างบริษัทกัน HarKonen ยังกล่าวต่อไปว่า “พวกเราได้ลิงค์ โมเดล ทั้งหมดไว้ด้วยกัน ส่วนนักออกแบบและผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ก็เข้ามาใช้ โมเดล ของเราเพื่อเป็นสิ่งอ้างอิง เช่น หากวิศวกรไฟฟ้าต้องการที่ตรวจสอบความสว่าง เขาก็สามารถเห็นใน โมเดล ว่าผนังหรือฝ้าเพดานอยู่ตรงไหนรวมทั้งสถานะของแบบที่แสดงเกือบจะเป็นแบบเรียลไทม์ และหากพวกเรามีการปรับแบบ พวกเขาก็จะทราบ และในทำนองเดียวกันหากนักออกแบบท่านไหนจะใส่อุปกรณ์เพิ่มลงใน โมเดล พวกเราก็จะรู้ว่าจะต้องวางเฟอร์นิเจอร์ตรงไหน มันเป็นเรื่องที่ต้องการความร่วมมือกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นโครงการก่อสร้างโรงพยาบาล เนื่องจากกฎเกณฑ์การทำงานต้องเคร่งครัดและเป็นเชิงเทคนิคมาก ซึ่งมันเหมือนเกมปริศนา แต่เกมปริศนานี้สามารถแก้ได้อย่างง่ายดายหากว่าเรามี โมเดล ที่ update อยู่ตลอดเวลาลิงค์อยู่ด้วยกัน”
Looking into the Future (มองอนาคตที่จะมาถึง)
หลายเดือนหลังจากที่ Raami Architects ได้ใช้โปรแกรม BIM Collaborate Pro ในโครงการก่อสร้างตึกของโรงพยาบาลศูนย์วาซา ประเทศฟินแลนด์เริ่มมีการล๊อคดาวน์ เนื่องจากการระบาดของโควิด 19 เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในโครงการต้องทำงานที่บ้าน (Work From Home) บริษัทฯจึงได้ย้ายโครงการหลายๆโครงการไปใช้โปรแกรม BIM Collaborate Pro คุณ Peltoharju กล่าวว่า “ มันเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาก แต่พวกเราสามารถจัดการการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ภายใน 3 วัน “ เนื่องจากว่าบริษัทมีประสบการณ์การใช้งานโปรแกรม BIM Collaborate Pro แล้ว การเปลี่ยแปลงเป็นแบบการใช้ระยะไกลจึงเป็นไปอย่างราบรื่น และยังสามารถดำเนินการต่อได้เลยถึงแม้นว่าจะมีเหตุการณ์ล๊อคดาวน์
บริษัท Raami Architects ได้หันมาใช้ BIM Collaborate Pro ในทุกๆโครงการ และสำหรับโครงการก่อสร้างตึกของโรงพยาบาลศูนย์วาซา นั้นทางทีม Bothnia High 5 Alliance วางแผนที่ยังคงใช้โปรแกรม BIM Collaborate Pro อยู่
ถึงแม้นว่าโครงการได้ส่งมอบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งข้อมูลใน โมเดล ส่วนใหญ่นำไปใช้ในช่วงการบำรุงรักษา (Maintenance) ตัวอย่างเช่น หากผู้ดูแลต้องการจะทาสีกำแพงใหม่ ข้อมูลในฐานข้อมูลที่ลิงค์กับ โมเดล จะแสดงให้เห็นว่าได้เคยทาสีไหนมาก่อน เป็นต้น
คุณ Peltoharju ยังได้กล่าวอีกว่า “ ทางเราได้ลองคำนวณในดูเรื่องการ Synchronize โมเดล ได้เร็วขึ้นพร้อมกับไม่มีเรื่องดาต้า คอรัปชั่นทำให้เราสามารถประหยัดเวลาในการทำงานได้ 5 วันต่อเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้คุ้มค่ามากกว่าราคาของโปรแกรม BIM Collaborate Pro หลายเท่า
เลือกดูสินค้าได้ที่นี่ >>> Autodesk Architecture Engineering Construction Collection
สอบถามรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติมได้ที่ 02-725-6400 , 084-424-2428
Tags : Architecture, Engineering & Construction Collection, AEC, BIM Package, AEC Indusry, Article, Autodesk, AECCOL, Robots, BIM Collaborate Pro