7 January, 2022 : By Admin Web3
การออกแบบสนามกีฬาได้รับ Turbo Boost ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
บริษัท Aidea Technologies ใช้ BIM ในการออกแบบสนามกีฬาที่ล่ำสมัย ซึ่งใช้เป็นสนามกีฬาหลักในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 30 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ โดย : RINA DIANE CABALLAR สถาปัตยกรรม - 29 ก.ย. 2021
Aidea Technologies ใช้ระยะเวลาในการสร้างสนามกีฬาเพียง 21 เดือน เท่านั้น โดย Aidea Technologies
บริษัท Aidea Technologies ในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นบริษัทฯที่ได้รับอนุญาตในการออกแบบ รวมถึงรายละเอียดทั้งหมดของสนามกีฬา ที่ใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2019
เพื่อให้สนามกีฬาขนาด 73,000 ตารางเมตร เสร็จสมบูรณ์ภายในระยะเวลาเพียง 21 เดือน ทีมงานได้ใช้ BIM (Building Information Modeling) และนำเอาวิธีการทำงานแบบผสมผสานมาใช้
การนำ BIM และการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานเป็นด้านดิจิทัลของ Aidea Technologies สามารถช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางการแพร่ระบาดใหญ่ได้
กีฬาซีเกมส์ (SEA) เป็นมหกรรมกีฬาที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยมีนักกีฬาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 ประเทศเข้าร่วมชิงชัยเพื่อชิงเหรียญทอง โดยที่ประเทศสมาชิกได้ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ และในปี 2019 ประเทศฟิลิปปินส์ได้วางแผนเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ครั้งที่ 30 นี้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องการสนามกีฬาแห่งใหม่อย่างเร่งด่วน
ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้มีการจัดการแข่งขันท้งหมด 530 รายการจาก 56 ประเภทกีฬา ประเทศจึงต้องการสนามกีฬาที่ได้รับการออกแบบอย่างล้ำสมัยและเป็นแกนหลักในการจัดการแข่งขัน บริษัท Aidea Technologies ซึ่งเป็นบริษัทออกแบบระดับโลกที่มีสำนักงานใหญ่ในฟิลิปปินส์ ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการออกแบบเพื่อสร้างแบบจำลองดิจิทัล รวมถึงรายละเอียดการออกแบบของสนามกีฬากรีฑาและศูนย์กีฬาทางน้ำในเมืองNew Clark City ในจังหวัด Tarlac ซึ่งห่างจากกรุงมะนิลาเมืองหลวงของประเทศ ประมาณ 80 ไมล์ ในการออกแบบสนามกีฬาแห่งนี้ถูกออกแบบให้มีขนาด 73,000 ตารางเมตร ความจุที่นั่ง 20,000 ที่ ลู่วิ่งแบบรูปไข่ขนาด 400 เมตรจำนวน 9 ลู่วิ่ง และสนามวอร์มอัพในร่มและกลางแจ้ง ส่วนศูนย์กีฬาทางน้ำขนาด 12,796 ตารางเมตร จะประกอบด้วยสระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิก สระฝึกซ้อม และสระสำหรับกระโดดน้ำ สามารถจุคนได้ถึง 2,000 คน
ภาพจำลองของศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้รับความอนุเคราะห์จาก Aidea Technologies
การออกแบบซึ่งรวมรายละเอียดทั้งหมดของสนามกีฬานับว่าเป็นงานใหญ่ และยิ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายมากขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดของเวลา ช่วงที่ทีม Aidea เริ่มทำโครงการในปี 2018 ทีมมีเวลาเหลือเพียงแค่ 21 เดือนก่อนเริ่มการแข่งขันในปลายเดือนพฤศจิกายน 2019 แม้รู้ว่าจะต้องทำงานโครงการที่ใหญ่ด้วยเวลาที่น้อยเหลือมาก บริษัทก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จเพื่อผู้มีส่วนร่วมงานในโครงการทั้งหมด ได้แก่สถาปนิกด้านแนวคิด Budji + Royal Architecture + Design ลูกค้า AlloyMTD Philippines Inc. ผู้รับเหมาก่อสร้าง Hilmarc และเจ้าของโครงการ Bases Conversion and Development Authority
Aldwin Beratio ผู้ช่วยหัวหน้าสตูดิโอของบริษัท Aidea กล่าวว่า “เราจำเป็นต้องทำงานนี้ให้สำเร็จเพราะมันไม่ใช่แค่ความภาคภูมิใจของบริษัทเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความภาคภูมิใจของฟิลิปปินส์ด้วย และโครงการสนามกีฬาแห่งนี้ ไม่ได้เป็นโครงการที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆเป็นโครงการประเภทที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งในชีวิตเท่านั้น เราจำเป็นต้องทำโครงการให้สำเร็จเพื่อส่งผ่านให้กับนักกีฬาของเราที่ทำงานหนัก ทุ่มเท และความภาคภูมิใจ เพื่อให้ประเทศของเราบรรลุเป้าหมาย”
การร่วมมือกันระหว่างการออกแบบ-การสร้าง (Design – Build Collaboration)
“สำหรับโครงการโดยทั่วไป จะมีการแบ่งงานกันระหว่างทีมงานการก่อสร้างและทีมงานการออกแบบ โดยผู้รับเหมาจะมุ่งเน้นให้งานสร้างเสร็จตรงเวลาและอยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้ ส่วนนักออกแบบจะมุ่งมั่นที่จะทำให้งานออกมาสมบูรณ์แบบตามที่ออกแบบไว้” Beratio กล่าว “แต่สำหรับโครงการนี้ เราทุกคนทุกทีมมีเป้าหมายร่วมกัน นั่นคือการสร้างสนามกีฬาระดับโลกที่ชาวฟิลิปปินส์ภาคภูมิใจ”
เนื่องจากโครงการเป็นโครงการแบบออกแบบ-การก่อสร้าง (Design-Build) การร่วมมือการทำงานกันถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสนามกีฬาครั้งนี้ ทีมออกแบบและทีมก่อสร้างใช้วิธีการทำงานที่ประสานกันเพื่อให้แน่ใจว่าโครงการจะส่งมอบได้ตรงเวลา ตัวอย่างเช่น ทีมงาน Aidea สอนทีมงานก่อสร้างเกี่ยวกับ BIM (Building Information Modeling) เนื่องจากพวกเขายังคงยึดติดกับโปรแกรม CAD Ronil Tamaca หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของ Aidea Technologies ได้กล่าวว่า “การช่วยให้พวกเขาเข้าใจเทคโนโลยีช่วยให้เราบรรลุผลการทำงานร่วมกัน และสร้างความรู้สึกมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานของโครงการให้สำเร็จ"
แต่การทำงานร่วมกันกับผู้รับเหมาต่างๆไม่ใช่เรื่องง่ายๆ โดยเฉพาะผู้รับเหมาหลักอย่างบริษัท Hilmarc's Construction Corporation ซึ่งมีหน้างานอยูที่ New Clark City ซึ่งห่างกันมากจากทีมงานของ Aidea ในกรุงมะนิลา เพื่อแก้ปัญหาเรื่องระยะทางที่ไกลกัน ทีมงานจึงหันไปพึ่งเทคโนโลยี "เราใช้อีเมลและการประชุมทางวิดีโอเพื่อทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น" Beratio กล่าว “ผู้รับเหมาจะส่งรูปภาพและวิดีโอมาให้เราแบบเรียลไทม์ เพื่อให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้แบบเรียลไทม์เช่นกัน”
การรักษาคุณภาพในช่วงเวลาตอบกลับหรือแก้ปัญหาให้หน้างานอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญซึ่งจะช่วยเพื่อลดข้อผิดพลาดหรือการทำงานซ้ำ แผนของ Aidea คือการคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ และแก้ไขก่อนเริ่มการก่อสร้าง ทีมงานใช้ Autodesk Revit ในการสร้างแบบจำลองอัจฉริยะของโครงสร้างด้วยขนาดที่แม่นยำ จากนั้น ทีมใช้ Autodesk Navisworks ในการจำลองแบบ และระบุปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น Mary Anne Nicolas ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท Aidea Technologies กล่าวว่า "เราใช้ BIM เพื่อให้แน่ใจว่าการออกแบบของเราใช้งานได้ดี โดยตรวจสอบพารามิเตอร์ทั้งหมดว่าจะดำเนินการได้อย่างถูกต้อง”
Beratio เสริมว่าการให้โมเดลอัจฉริยะแก่ทีมก่อสร้างทำให้พวกเขาตรวจสอบความเป็นไปได้ของการออกแบบ “เราสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกันก่อนที่จะเริ่มการก่อสร้างขึ้น และทำสิ่งที่ถูกต้องในครั้งแรก” เขากล่าว
หากโมเดลที่ใช้เป็นแหล่งที่ถูกต้องเพียงแหล่งเดียวสำหรับใช้ในการออกแบบ และการก่อสร้าง จะอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นระหว่างทั้งสองทีม โดยนาย Nicolas กล่าวว่า "เรากำลังดึงข้อมูลจากที่เก็บข้อมูลแหล่งเดียว ซึ่งเป็นแบบจำลอง BIM ของเรา ทำให้เราแน่ใจว่าทุกอย่างเป็นปัจจุบัน และผู้รับเหมาได้รับแบบแปลนล่าสุด ทำให้เรามีระบบช่วยในการประสานงานซึ่งกันและกัน”
แนวทางการทำงานร่วมกันในการออกแบบ และการก่อสร้างได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สนามกีฬาสามารถสร้างได้เสร็จสมบูรณ์ก่อนกำหนดสองเดือน “ในช่วงสองเดือนนี้ ทำให้นักกีฬาชาวฟิลิปปินส์ของเราได้สัมผัสและรู้สึกถึงพื้นที่เล่น เพื่อที่พวกเขาจะมีข้อได้เปรียบมากขึ้น” เบราติโอกล่าว
การร่วมมือกันระหว่างการออกแบบ-การสร้าง (Design – Build Collaboration)
หากโมเดลที่ใช้เป็นแหล่งที่ถูกต้องเพียงแหล่งเดียวสำหรับใช้ในการออกแบบ และการก่อสร้าง จะอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่นระหว่างทั้งสองทีม โดยนาย Nicolas กล่าวว่า "เรากำลังดึงข้อมูลจากที่เก็บข้อมูลแหล่งเดียว ซึ่งเป็นแบบจำลอง BIM ของเรา ทำให้เราแน่ใจว่าทุกอย่างเป็นปัจจุบัน และผู้รับเหมาได้รับแบบแปลนล่าสุด ทำให้เรามีระบบช่วยในการประสานงานซึ่งกันและกัน”
บริษัท Aidea เป็นผู้ริเริ่มนำระบบ BIM มาใช้ ซึ่งปูทางสู่ความสำเร็จกับโครงการสนามกีฬากรีฑา "เราได้เปลี่ยนมาใช้ BIM อย่างรวดเร็วในปี 2005" Nicolas กล่าว “โครงการนี้เป็นการยืนยันการตัดสินใจที่ถูกต้องของเรา โดย BIM ช่วยให้เราสร้างมาตรฐานกระบวนการทำงานและความคืบหน้า โดยยึดตามกำหนดการที่วางไว้ และปลูกฝังแนวทางที่มีระเบียบวินัยในการส่งมอบโครงการ” การตัดสินใจเริ่มดำเนินการในเส้นทางการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานด้านดิจิทัลนี้เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เนื่องจาก BIM เพิ่งเริ่มได้รับความสนใจในวงการ การออกแบบในขณะนั้น
ภาพจำลองของศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้รับความอนุเคราะห์จาก Aidea Technologies
การเปลี่ยนแปลงลักษณะงานดิจิทัลยังเป็นประโยชน์กับบริษัท Aidea เมื่อการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในปี 2020 “เราโชคดีที่เราได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อทำงานจากระยะไกลก่อนที่การระบาดใหญ่จะมาถึง” Aidea CEO Abelardo “Jojo” Tolentino Jr. กล่าว “การเปลี่ยนไปใช้ BIM ของเรา เป็นเรื่องไม่ง่ายเลย เราต้องเรียนรู้ผ่านการลองผิดลองถูก แต่การเป็นผู้เริ่มต้นใช้งานก่อนทำให้เรามีเวลาทดสอบระบบ กระบวนการต่างๆ และเปลี่ยนกรอบความคิด มันให้ความต่อเนื่องทางธุรกิจในแง่ของWorkflow การประสานงาน การส่งมอบโครงการ และความจริงที่เราสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ได้ทันเวลา เพื่อเป็นการยืนยันให้แน่ใจว่าเราได้ทำสิ่งที่ถูกต้อง”
ก้าวไปสู่อนาคตที่ประสานงานกันมากขึ้น
บริษัท Aidea นำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากสนามกีฬากรีฑาไปใช้กับโครงการปัจจุบัน “ ในอดีตเราได้ออกแบบก่อนแล้ว จากนั้นจึงสร้างโมเดล BIM ในภายหลัง ดังนั้น BIM จึงกลายเป็นตัวช่วยในระหว่างการก่อสร้าง” เบราติโอกล่าว “แต่ตอนนี้ เรากำลังใช้ BIM ในช่วงเริ่มต้นของโครงการเพื่อช่วยในการออกแบบของเราและเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้ และสามารถตอบสนองค่าใช้จ่ายได้”
ภาพจำลองของศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้รับความอนุเคราะห์จาก Aidea Technologies
นอกเหนือจากนี้แนวทางการทำงานที่ประสานงานกันมากขึ้น คล้ายกับสิ่งที่พัฒนาสำหรับโครงการออกแบบสนามกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องการของบริษัท คุณ Tolentino กล่าวว่า "เราจะเห็นแนวโน้มการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการมากกว่าการต่างฝ่ายต่างทำ” เขายังกล่าวต่อ “การสร้างโมเดลธุรกิจในอดีต เป็นการเติบโตแบบorganic growth ซึ่งเป็นการเติบโตด้วยตัวเอง บริษัทฯจะตั้งสำนักงานในส่วนต่างๆของโลก แต่ตอนนี้โมเดลธุรกิจได้เปลี่ยนไปเป็นลักษณะหุ้นส่วนร่วมมือกันระหว่างบริษัทที่มีความคิดเห็นคล้ายๆกันทั่วโลก ภูมิศาสตร์ไม่ใช่ข้อจำกัดในโลกดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีกต่อไป และเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นที่จะเห็นการพัฒนาในอนาคต”
Rina Diane Caballar เป็นนักเขียนอิสระ ที่ตั้งอยู่ในเมือง Wellington ประเทศนิวซีแลนด์ ผลงานของเธอได้รับการตีพิมพ์ในสื่อ เช่น BBC Travel, The Atlantic, Quartz และ CityLab รวมถึงร้านค้าอื่นๆ
Tags : BIM, Autodesk BIM, AutoCAD BIM, BIM ราคา, ซื้อ BIM, BIM คือ, ขาย BIM, ระบบ BIM, ซอฟต์แวร์ BIM,