กันไว้ดีกว่าแก้ ใช้ Autodesk ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์แท้ และข้อระวังการละเมิดที่ควรรู้
เมื่อ ปี พ.ศ. 2564 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยที่ในครึ่งปีแรก มีเบาะแสแจ้งความมากถึง 195 เรื่อง เป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 212 ล้านบาท และยังระบุว่าธุรกิจของคนไทย เป็นธุรกิจที่เกิดการละเมิดมากที่สุด โดยซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดมากที่สุดยังคงเป็นซอฟต์แวร์ออกแบบและเขียนแบบ แสดงให้เห็นว่าคนไทยยังตระหนักรู้และเข้าใจถึงผลการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อยู่น้อยมาก
อ่านข่าวการละเมิดในปี 2564 https://www.bangkokbiznews.com/tech/tech_gadget/950095
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบลิขสิทธิ์ของ Autodesk
จากที่ได้กล่าวไปว่าซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดมากที่สุด คือ ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการออกแบบและเขียนแบบ ซึ่งหนึ่งในซอฟต์แวร์ที่มีชื่อเสียงด้านนี้และถูกละเมิดจึงหนีไม่พ้น ซอฟต์แวร์ในตระกูลของ Autodesk เช่น AutoCAD เป็นต้น ซึ่งทาง Autodesk ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบลิขสิทธิ์ จากแบบ Multi-user เป็น Single License เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถให้การสนับสนุนผู้ใช้งานในองค์กรของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นการเพิ่มความสะดวกในการควบคุมและการตรวจสอบการละเมิดลิขสิทธิ์ในองค์กรที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ด้วย
BSA และกฏหมายการละเมิดลิขสิทธิ์
BSA (Business Software Alliance) เป็นองค์กรที่มีบทบาทในการตรวจสอบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ที่เป็นพันธมิตรกับบริษัทซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เชิงพาณิชย์ ซึ่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วโลก มุ่งเน้นการส่งเสริมการใช้งานซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์และยับยั้งการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงสื่อสารกับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ เพื่อประสานงานเข้าตรวจสอบการละเมิดลิขสิทธิ์ตามที่ต่างๆ ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1989 โดยบริษัท Microsoft
ซึ่งสมาชิกที่เป็นพันธมิตรกับ BSA ประกอบด้วยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ระดับโลก อาทิ Microsoft, Adobe, Autodesk รวมไปถึงธรุกิจด้านการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ การค้า และธุรกิจอีคอมเมิร์ส รวมถึงธุรกิจระดับทวีปหรือภูมิภาคด้วยเช่นกัน ที่ผ่านมา BSA มีการตั้งรางวัลนำจับ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสอดส่องมากขึ้น จากทั้งระดับบุคคล หรือหน่วยงาน ทั้งนี้จะมีการปกปิดความลับของผู้แจ้งจับเพื่อความปลอดภัยอีกด้วย
ในส่วนของบทลงโทษสำหรับผู้กระทำผิด จะถูกดำเนินการปรับจาก BSA ซึ่งคำนวณค่าปรับจากความเสียหายต่อบริษัทเจ้าของซอฟต์แวร์ อันมาจากจำนวนเครื่องที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ระยะเวลาที่ละเมิด และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงค่าดำเนินการทางกฏหมาย และค่าดำเนินการอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละกรณี
นอกจากนี้อาจได้รับโทษทางอาญาด้วย เนื่องจากซอฟต์แวร์ถือว่าเป็นประเภทหนึ่งของ “ทรัพย์สินทางปัญญา” ที่ได้รับความคุ้มครอง ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ("พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์") โดยจัดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ประเภทงานวรรณกรรม (Literary work) โดยมีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท หากเป็นการกระทำเพื่อการค้า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏหมายลิขสิทธิ์ กฏหมายลิขสิทธิ์ของไทย (dol.go.th)
การกระทำที่เข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์
เนื่องจากการถูกดำเนินคดีทั้งจาก BSA และกฏหมายนั้น ย่อมเกิดความเดือดร้อนและไม่เป็นผลดีต่อผู้ถูกดำเนินคดีเป็นแน่ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจในข้อปฏิบัติของซอฟต์แวร์และควรหลีกเลี่ยงการกระทำอันจะนำมาซึ่งการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งไม่ใช่กับซอฟต์แวร์ Autodesk เท่านั้น ยังรวมถึงซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ที่มักจะถูกมองข้ามด้วย เช่น Mircosolf หรือ Adobe เป็นต้น
กรณีต่างๆ ที่มักจะเกิดขึ้นในการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
- การสำเนาซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต - เกิดจากการคัดลอกหรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ต้นฉบับไปแจกจ่ายให้สมาชิกในองค์กรเพื่อใช้งาน แม้ว่าจะซื้อของแท้ก็ตาม แต่การกระทำแบบนี้เป็นการละเมิดจำนวนสิทธิ์ของการใช้งาน โดยทั่วไปจะเป็น 1 License ต่อหนึ่งเครื่อง/คน
- การใช้งานผ่านระบบเชื่อมต่อภายใน - เกิดจากการใช้ระบบ Thin Client ลงซอฟต์แวร์เพียง 1 License ที่เครื่องหลัก (Host PC) และเชื่อมต่อด้วยให้สมาชิกคนอื่นๆ ในองค์กร สามารถใช้งานได้หลายๆ คน ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกรณีแรก ที่ผิดในข้อตกลงเรื่องจำนวน License เช่นกัน
- การติดตั้งซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์ – เกิดจากการที่ผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์บางแห่งทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้าเพื่อเป็นของสมนาคุณหรือเพื่อจูงใจลูกค้า โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง
- การแจกจ่ายทางอินเตอร์เน็ต – หากไม่ใช่ตัวแทนจำหน่ายแล้ว การนำซอฟต์แวร์ไปแจก(ฟรี)หรือจ่าย(ขาย) เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายอย่างแน่นอน รวมไปถึงการแจกจ่าย Crack เพื่อใช้งานซอฟต์แวร์อย่างไม่ถูกต้องอีกด้วย
- การสำเนาซอฟต์แวร์ในเชิงผลิตภัณฑ์ – เป็นรูปแบบหนึ่งของการสำเนาที่ผิดกฏหมายโดยเจตนา เช่น การทำ CD พร้อมคู่มือเพื่อจำหน่ายซอฟต์แวร์โดยมีการเลียนแบบให้เหมือนกับของจริงให้มากที่สุด
ทำอย่างไรจึงจะไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
เริ่มจากวิธีง่ายที่สุดโดยการซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์แท้ใช้งานเพื่อสร้างนิสัยที่ดี(ในระดับบุคคล) จากนั้นศึกษาสัญญา ข้อกำหนด และเงื่อนไขการใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อป้องกันการละเมิด ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันในแต่ละซอฟต์แวร์ แต่ที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่ คือ การจัดการลิขสิทธิ์ในระดับองค์กรหรือหน่วยงาน ที่อาจจะต้องปวดหัวกับเมื่อจำนวนการใช้งานมากก็ยิ่งมีความยุ่งยากและมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการการใช้งาน License
การแก้ไขปัญหาทำได้ง่ายกว่า โดยการมองหาตัวแทนที่เป็น I.T. Support ที่มีประสบการณ์ในการจัดการกับการใช้งานซอฟต์แวร์ในระดับองค์กร อาทิ I.T. Solution Computer (Thailand) ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก Autodesk ในระดับ Gold จึงสามารถวางใจได้ในเรื่องการแก้ปัญหาและให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง รวมถึงมีการอบรม บริการหลังการขาย และการดูแลในระยะยาวอีกด้วย
การแก้ไขปัญหาทำได้ง่ายกว่า โดยการมองหาตัวแทนที่เป็น I.T. Support ที่มีประสบการณ์ในการจัดการกับการใช้งานซอฟต์แวร์ในระดับองค์กร อาทิ I.T. Solution Computer (Thailand) ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก Autodesk ในระดับ Gold จึงสามารถวางใจได้ในเรื่องการแก้ปัญหาและให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง รวมถึงมีการอบรม บริการหลังการขาย และการดูแลในระยะยาวอีกด้วย
สรุป
ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจในการใช้งานที่ถูกต้อง ทั้งในระดับบุคคล และระดับองค์กร ห้างร้าน หรือบริษัท อย่าคิดว่าเป็นบริษัทเล็กๆ คงไม่ถูกตรวจสอบ หรืออ้างในเรื่องของราคาที่แพงจนไม่สามารถซื้อได้ ซึ่งหากวันดีคืนดี ถูก BSA ดำเนินการเข้าไปตรวจสอบ อาจจะต้องเสียเงินมากกว่าตอนแรกด้วยซ้ำ หรือหากซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์แท้ แต่มีการกระทำที่เข้าข่ายการละเมิด ก็อาจถูกดำเนินคดีได้เช่นกัน ดังนั้น การมีศึกษาและตรวจสอบเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-725-6400 , 084-424-2428
Tags : Adobe, Platinum Reseller, ตรวจจับลิขสิทธิ์ Adobe, Adobe แท้, Adobe ลิขสิทธิ์, Adobe ตรวจจับไลเซนต์, การใช้งานซอฟต์แวร์ Adobe, เงื่อนไข Adobe, Adobe Privacy, Adobe Licenses, ซอฟต์แวร์ Adobe ลิขสิทธิ์, ถูกจับลิขสิทธิ์ Adobe, ITSC, ITSolution, Creative Suite, Adobe Individual, Adobe Business, Adobe Enterprise